Co-Operating Distributed Commerce



Account


Account คือระบบบัญชีทั่วไปที่องค์กรใช้ในการดำเนินธุรกรรมประจำวัน

ระบบบริหารงานธุรกิจ ( Financial Management System )

ระบบบริหารงานธุรกิจ (Financial Management System) ประกอบด้วย

  1. ระบบบัญชี (General Ledger System)
  2. ระบบซื้อ (Purchase System)
  3. ระบบขาย (Sales System)
  4. ระบบลูกหนี้ (Account Receivable System)
  5. ระบบเจ้าหนี้ (Account Payable System)
  6. ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory System)
  7. ระบบการจัดการเงินสด (CashManagement System)
  8. ระบบงบประมาณ (Budgeting System)
  9. ระบบสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset System)
  10. ระบบผู้บริหาร (Executive Decision System)

ระบบบัญชี (General Ledger System)

ระบบบัญชีเป็นระบบที่รองรับรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆ ทางธุรกิจ ซึ่งท่านสามารถกำหนดข้อมูลพื้นฐานทางบัญชีได้ตามโครงสร้างของบริษัทและผังบัญชีของบริษัท ซึ่งรายการทางบัญชีจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมต่างๆ ในแต่ละระบบงาน และระบบบัญชีจะรองรับการคำนวณสินค้าคงคลังทั้งแบบ Periodic และ Perputual รวมถึงอัตโนมัติคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์และสินค้าคงคลังด้วย

ระบบซื้อ / ระบบขาย (Purchase System / Sale System )

ระบบลูกหนี้ ( Account Receivable System )

ระบบเจ้าหนี้ ( Account Payable System )

ระบบสินค้าคงคลัง ( Inventory System )

ระบบการจัดการเงินสด (Cash Management System)

ระบบงบประมาณ (Budgeting System)

ระบบสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset System)

ระบบผู้บริหาร (Executive Decision System)

ระบบบริหารงานทรัพยากรบุคคล ( Human Resource Management System )

ระบบบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย:

1. ระบบการจัดการบุคลากร (Personal Management)

2. ระบบการประเมินและวางแผนกำลังคน (Career and Evaluation Management)

3. ระบบการสรรหาพนักงาน (Recruitment Management)

4. ระบบการฝึกอบรม (Training Management)

5. ระบบการจัดการเงินเดือน (Payroll Management)

6. ระบบสวัสดิการ (Benefits and Welfare Management)

ระบบการจัดการบุคลากร (Personal Management)

ระบบการประเมินและวางแผนกำลังคน (Career and Evaluation Management)

ระบบการสรรหาพนักงาน ( Recruitment Management )

ช่วยให้กระบวนการรับสมัครพนักงานสามารถคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณภาพเหมาะสมกับตำแหน่งงาน ที่ต้องการทั้งข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอก

สามารถกำหนดตารางการสัมภาษณ์ แสดงผลการสัมภาษณ์ ดูสถานะของผู้สมัคร และสถานะในการ สรรหาพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการสรรหาพนักงาน

ระบบการสรรหาพนักงานช่วยในการคัดเลือกและรับบุคคลที่ตรงกับความสามารถที่ต้องการและ ให้ความสนับสนุนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในบริษัทและช่วยให้บริษัทมีนโยบายในการสรรหา พนักงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สุดและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารลงได้

ผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานะได้ตลอดเวลา

สามารถให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับแผนกบริหารงานบุคคลใช้ในการตัดสินใจ

สามารถค้นหาข้อมูลที่ตรงกันระหว่างคุณสมบัติของผู้สมัครกับคุณสมบัติของตำแหน่งงาน ที่ความต้องการ

มีรายงานแสดงสถานะทุกกระบวนการในการสรรหาพนักงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วย ตัดสินใจของผู้บริหารและแสดงสถานะของใบสมัครแต่ละใบ

ระบบจะโอนย้ายข้อมูลจากระบบการสรรหาพนักงานไปยังระบบการจัดการบุคคลให้อัตโนมัติ เมื่อมีการรับพนักงานใหม่

ระบบการฝึกอบรม (Training Administration)

ช่วยกำหนดตารางการฝึกอบรมตามระดับงาน และกำหนดสิ่งที่ใช้ประกอบการฝึกอบรมอื่นๆ

เก็บข้อมูลของการฝึกอบรมต่างๆ เช่น ผู้สอน หลักสูตรการสอน

ตรวจสอบหลักสูตรที่มีการฝึกอบรม การประเมินผล

สามารถกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสำหรับพนักงานแต่ละระดับ และเปรียบเทียบประมาณการและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

รองรับแผนงานการฝึกอบรมและการประเมินผลการฝึกอบรม

รองรับหลักสูตรการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกเพื่อการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

กำหนดรายละเอียดโปรแกรมการฝึกอบรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับพนักงาน

สร้างโปรแกรมการฝึกอบรมสำหรับผู้รับการฝึกอบรมรวมถึงการประเมินผล

เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ หัวข้อ และตารางเวลาในการฝึกอบรม ราคา จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมและสถานที่ในการฝึกอบรม

แผนการฝึกอบรมเป็นเครื่องมือในการเตรียมข้อมูลต่างๆ โดยอัตโนมัติเช่น อุปกรณ์ ผู้สอน สถานที่เรียน

รองรับระบบ Billing, Cost Allocation และงบประมาณ

มีฟังก์ชันที่ช่วยในการจองห้อง การยกเลิก เพื่อการฝึกอบรม

มีฟังก์ชันช่วยในการประเมินราคาของผู้สอน อุปกรณ์ในการฝึกอบรม ค่าโฆษณา ค่าเช่าห้องฝึกอบรมและอุปกรณ์ในการฝึกอบรม รวมถึงสามารถการกำหนดเกณฑ์ในการตัดสินใจของแต่ละการประเมินราคา

สามารถ Allocation Cost ของการฝึกอบรมภายในและภายนอกได้

ระบบเงินเดือน (Payroll Management)

ระบบสวัสดิการ (Benefit Welfare Management)




ERP - Enterprise Resource Planning

ระบบบริหารงานโรงงาน ( Manufacturing Management System )

ระบบบริหารงานโรงงาน ประกอบด้วย:

1. ระบบวางแผนผลิต (Planning Management)

2. ระบบการผลิต (Production Management)

3. ระบบควบคุมคุณภาพ (Quality Control Management)

4. ระบบการป้องกันและแก้ไข (Preventive and Corrective Management)

5. ระบบการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration System)

6. ระบบต้นทุน (Cost Accounting)

ระบบวางแผนผลิต (Planning Management)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมข้อมูลโดยเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการวางแผน และก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดสำหรับการผลิต ดังนี้

ระบบการผลิต (Production Management)

ระบบควบคุมคุณภาพ (Quality Control Management)

เป็นระบบที่ใช้สำหรับการกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานและค่ามาตรฐานในการตรวจสอบและบำรุง รักษาสินค้าเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ทั้งนี้รวมถึงการเก็บประวัติของการตรวจสอบ คุณภาพต่างๆ ไว้เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของ สินค้า

ระบบการบำรุงรักษา (Preventive and Corrective Maintenance System)

เป็นระบบที่ใช้ในการกำหนดตารางเวลาของการบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ โดยระบบจะมีการเตือนเมื่อถึงวันที่กำหนด ตรงตามเงื่อนไข วันที่รับประกัน หรือวันที่หมดอายุ ระบบจะเก็บบันทึกข้อมูลและประวัติของการบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ รวมถึงการกำหนดค่ามาตรฐานของเครื่องจักรสำหรับการบำรุงรักษา

ระบบของการสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration System)

เป็นระบบสำหรับการตรวจสอบเครื่องมือวัดให้อยู่ในระดับที่มาตรฐานสามารถรองรับได้ ระบบจะอนุญาตให้ท่านกำหนดแผนงานของการสอบเทียบ เก็บบันทึกข้อมูลและประวัติของการสอบเทียบเครื่องมือวัดแต่ละประเภท พร้อมทั้งการเปรียบเทียบค่าของเครื่องมือวัดกับค่ามาตรฐาน เมื่อมีการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้วยตัวเอง

ระบบบัญชีต้นทุน (Cost Accounting System)

เป็นระบบที่ให้ควบคุมต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท โดยข้อมูลและสินค้าจะมี ความสัมพันธ์เป็นแบบ Parent & Child กับข้อมูลทางการเงินเพื่อใช้ในการจัดระดับ ของรายละเอียด ในแต่ละระดับจะสามารถออกรายงานเปรียบเทียบต้นทุนที่เป็นประมาณการและ ต้นทุนที่ใช้ไป ซึ่งการบันทึกต้นทุนที่เกิดขึ้นสามารถบันทึกเป็น Cost Center, Project หรืออื่นๆ แล้วแต่ผู้ใช้




ECP (Enterprise Commerce Planning)

ECP (Enterprise Commerce Planning) คือระบบการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจ ทั้งในรูปแบบของการตลาด (Marketing หรือในแง่ของการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร - Community) และ การทำธุรกิจ (Business หรือในแง่ของการซื้อขาย - Transaction)

ECP เป็นระบบที่อยู่ในส่วนของการวางแผนและกำหนดนโยบายและเงื่อนไขของระบบลูกค้า สัมพันธ์ (CRM-Customer Relation Management)

ตัวอย่างการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ในรูปแบบของการตลาด (Marketing - Community) เช่นการวางนโยบายในการขายที่มีทั้งการขายปลีกและการขายส่ง ให้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของลูกค้าแต่ละรายที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะก่อให้เกิดผลดีทีสุดและความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร

C2B ( Commerce to Business )

หมายถึงโปรแกรมสำหรับการบริการ สำหรับการทำธุรกรรมภายในองค์กร ซึ่ง รองรับระบบงาน ERP (Enterprise Resource Planning) และเป็นเสมือนศูนย์กลางของ บริษัทและการทำธุรกรรมต่างๆ

ประกอบด้วย

1. ERP ( Enterprise Resource Planning )

เป็นโปรแกรมสำหรับการทำธุรกรรมตามปกติของของทุกธุรกิจ เพื่อใช้ในการควบคุม งบประมาณ ซึ่งประกอบด้วย ระบบการเงิน ( Financial Management System ), ระบบบริหารงานบุคคล ( Human Resource Management System ), ระบบบริหารการผลิต ( Manufacturing Management System ) และระบบลูกค้าสัมพันธ์ ( CRM: Customer Relation Management ) ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะถูกเชื่อมโยงกันด้วยขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ

2. Virtual Office Park ( สำนักงานเสมือนจริง )

หมายถึงการเตรียม JiniCommerce.Com ให้เป็นสำนักงานเสมือนจริง สำหรับบริษัทที่ ต้องการทำธุรกิจบน Internet รวมถึงการบริการ สำหรับการทำธุรกรรมหลายๆ ประเภท โดยไม่ จำเป็นต้องมีสถานที่ตั้งบริษัทที่แท้จริง เนื่องจากระบบงานบน JiniCommerce.Com จะ ทำหน้าที่เป็น เลขานุการ ในการติดตามงานในแต่ละขั้นตอน ส่งข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน แต่ละกระบวนการไปยังลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้าจะทราบได้ทันทีว่า “สินค้าที่ สั่งซื้อมีกำหนดส่งเมื่อไร” มีการตรวจสอบวงเงินเครดิตของลูกค้าทันที นอกจากนี้ในกรณีที่ทางบริษัทไม่สามารถส่งของได้ทันตามกำหนดส่งระบบสามารถส่ง e-mail แจ้งไปยังลูกค้าทราบทันทีเมื่อระบบพบว่าสถานะมีการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นพนักงานบัญชี มีการตรวจสอบวงเงินเครดิตของลูกค้าทันที และผู้จัดส่งสินค้าไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากการทำธุรกรรมต่างๆ จะมีการเก็บข้อมูลและ ส่งข้อมูลต่อไปยังระบบบัญชีให้อัตโนมัติ รวมถึงการส่งข้อมูลไปยังบริษัทที่เกี่ยวข้อง เช่นบริษัทที่ทำหน้าที่ในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อดำเนินการในการจัดส่งสินค้า อีกทอดหนึ่ง

JiniCommerce.Com ได้เตรียมพนักงานประสานงานการขายเพื่อเป็นศูนย์กลางของงานด้าน เอกสารต่างๆ รวมถึงการเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงานขององค์กรซึ่งรองรับตามระบบ คุณภาพมาตรฐาน ISO9000 และ ISO2000 โดยเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า จนกระทั่งมีการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า JiniCommerce จะส่งข้อมูลไปตามกระบวนการการ ทำงานจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการ ตัวอย่างเช่นเมื่อมีการผลิตสินค้าเสร็จ ระบบจะจัดส่ง ข้อมูลต่อไปยัง Distributor เพื่อแจ้งให้ทราบและดำเนินการจัดส่ง รวมถึงการแจ้งไปยัง ลูกค้าเพื่อทราบซึ่งการดำเนินธุรกรรมขององค์กรที่รวมไว้ที่เดียวกันนี้เราเรียกว่า JiniCommerce Core

B2B ( Business to Business )

เป็นลักษณะของการดำเนิน ธุรกิจร่วมกันระหว่างองค์กร ( Community ) ซึ่งใน กลุ่มการทำธุรกิจของชาวเอเชียนั้น แม้ว่าจะทำธุรกิจเหมือนกันแต่ก็มียังมีการช่วยกัน อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการขอซื้อหรือขอยืมวัตถุดิบชั่วคราว หรือแม้แต่ในปัจจุบัน การทำธุรกิจของสังคมโลก มีการแข่งขันกันสูง ทำให้หลายคนต้องทำธุรกิจที่ชำนาญเฉพาะด้าน แล้วมาร่วมประกอบกันเข้าเป็นสินค้า ทำให้ต้องการเครื่องมือที่จะช่วยกันประสานการทำ ธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการหารายได้เข้าสู่องค์กร

ประกอบด้วย

1. ผู้กระจายสินค้า ( Distributor หมายถึง ตัวแทนจำหน่ายสินค้า, ผู้จัดส่งสินค้า )

หมายถึงบริษัทที่เป็นตัวกลาง เพื่อนำสินค้าถึงมือลูกค้า โดยระบบจะเสมือนหนึ่ง Distributor ในการจำหน่าย หรือส่งมอบสินค้า ใดสินค้าหนึ่ง จะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หรือแผนกหนึ่งขององค์กร ทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบว่า Distributor ใดบางมีสินค้าเหลืออยู่ ในมือที่จะจัดส่งให้ลูกค้าได้เร็วที่สุด

โดยที่ลูกค้าอาจจะเป็นผู้เลือก Distributor ที่จะจัดส่งสินค้าเอง โดยกำหนดเงื่อนไขในการคัดเลือกผู้จัดส่งสินค้า แล้ว JiniCommerce จะแจ้งไปยัง Distributor นั้นๆ เพื่อเตรียมการในการจัดส่ง พร้อมทั้งแจ้งกลับไปยังลูกค้า รวมถึงในขณะที่ Distributor ดำเนินการจัดส่ง JiniCommerce จะแจ้งหรือติดต่อกลับไปยัง ลูกค้าทุกครั้งที่มีการดำเนินการหรือเปลี่ยนแปลง

2. ดูแล Distributor

เป็น Module ในการเตรียมข้อมูลเพื่อให้องค์กรนั้นๆ ที่ติดต่อกับ Distributor สามารถที่จะตรวจสอบและติดตามการทำงานของ Distributor ในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้เสมอ รวมถึงการตรวจสอบสินค้าหรือวัตถุดิบคงเหลือ เพื่อประมาณการจะสั่งซื้อแจ้งให้ผู้ขายทราบเป็นระยะ หรือการตรวจสอบผู้ขายใด มีสินค้าหรือวัตถุดิบเพียงพอต่อการสั่งซื้อ

B2C ( Business to Customer )

เป็นลักษณะของการดำเนินธุรกิจการขายปลีก เป็นการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ ผ่านทางเครือข่าย Internet ผู้ทำกิจกรรมสามารถหาสินค้าและบริการที่ถูกใจได้มาก อีกทั้งยังทำให้ลดคนกลางซึ่งเป็นผลทำให้ราคาสินค้าและบริการถูกลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการหารายได้เข้าสู่องค์กรเช่นเดียวกับธุรกิจแบบ B2B

นอกจากนี้ B2C ยังรวมถึงระบบการทำงานในส่วนของ Front Office หรือระบบการบริการ ส่วนหน้าของธุรกิจต่างๆ ให้สามารถติดต่อกับธุรกิจสาธารณะ (Commerce) แล้วมีการตอบสนอง ได้ในทันทีทันใด เช่นการจองการพบแพทย์ การติดตามผลการตรวจรักษา โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้อง เดินทางไปเอง เป็นต้น แต่การเข้าดูข้อมูลดังกล่าวนั้นจะต้องมีผู้มีอำนาจอนุมัติในการ เข้าระบบงานดังกล่าวเสมอ

B2C ประกอบด้วย

1. Shopping

เสมือนเป็นห้องแสดงสินค้าบน Internet ลูกค้าสามารถติดต่อกับผู้ขายทุกราย สามารถ ทำธุรกรรมต่างๆ ได้จากที่บ้าน และยังสามารถสอบถามสถานะของเอกสารต่างๆ จาก ผู้ขายได้ในทุกกระบวนการการผลิต

2. การบำรุงรักษาและบริการหลังการขาย

- การบริการตามคำขอของลูกค้า

หมายถึงการให้บริการหลังการขายตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้หรือตามคำขอของลูกค้า โดยระบบจะทำการบันทึกข้อมูลของการให้บริการ ผู้ให้การบริการและสิ่งที่ได้ทำการบริการ เพื่อเก็บเป็นประวัติในการบริการของลูกค้าต่อไปโดยในทุกขั้นตอน รวมถึงการ Confirm กำหนดการ Maintenance สิ่งที่ได้ทำการ Maintenance รวมถึงการจบการ Maintenance . จะมีการติดต่อกับทางลูกค้าตลอดเวลา

- การบริการตอบปัญหาตามกระทู้

หมายถึงการให้บริการในการตอบปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับระบบ JiniCommerce Module อื่นๆ โดยผู้ที่ต้องการที่จะเข้าตรวจสอบหรือสอบถามปัญหาต่างๆ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการ ขอสิทธิในการขอรับบริการตอบปัญหาตามกระทู้เพื่อขอรหัสผ่านก่อน

- บริการตอบปัญหาโดยระบบ Expert System & Simulation

หมายถึงการให้บริการตอบปัญหาต่างๆ ด้วยระบบ Expert System และระบบของการแสดง ภาพสินค้าที่ผู้ต้องการสอบถามเพื่อให้ผู้ที่สอบถามและผู้ตอบคำถามสามารถเห็นภาพได้ ตรงกันและช่วยให้การแก้ปัญหาต่างๆ ถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากขึ้น

ผู้ใช้บริการจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่าบริการการบริการหลังการขาย ตามเวลาที่ กำหนด หลังจากนั้นจึงจะเสียค่าบริการ โดยผู้ใช้สามารถใช้ Application ที่สามารถทำงาน บน Browser ผ่านเครือข่าย Internet เพื่อดูภาพของสินค้าในลักษณะ 3D Simulation เพื่อให้ลูกค้าสามารถสอบถาม และชี้จุดของปัญหาที่เกิดขึ้น

ระบบบริหารงานส่วนหน้า (Front Office System)

ระบบบริหารงานส่วนหน้า หมายรวมถึงระบบโรงแรม และ ระบบโรงพยาบาล ซึ่งระบบโรงพยาบาลจะประกอบด้วยส่วนของระบบห้องยาเพิ่มเติมจากส่วนของระบบโรงแรม ประกอบด้วย

1. ระบบการจองและนัดหมาย (Reservation & Appointment System)

2. ระบบต้อนรับและเวชระเบียน (Registration System)

3. ระบบบันทึกค่าใช้จ่าย (Folio & Order System)

4. ระบบห้องยา (Pharmacy System)

5. ระบบการเงิน (Cashier System)

6. ระบบแม่บ้าน (Housekeeping System)

ระบบการจองและนัดหมาย (Reservation & Appointment System)

ระบบต้อนรับ & เวชระเบียน (Registration System)

ระบบบันทึกค่าใช้จ่าย (Folio & Order System)

สามารถตรวจสอบระดับสต๊อกเช่นยา ราคาต่อหน่วยจากตารางการขาย

ระบบไม่อนุญาตให้มีการขายที่ต่ำกว่าราคาในตารางการขาย นอกจากจะมีผู้อนุมัติ ในการขายแต่ละครั้ง

ระบบอนุญาตให้กำหนดระดับการอนุมัติได้หลายระดับหรือการอนุมัติจากผู้มีอำนาจมากกว่า 1 คนขึ้นไป

ระบบจะตรวจสอบเครดิตของลูกค้าให้อัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมกับลูกค้ารายนั้นๆ ซึ่งถ้าลูกค้ามีเครดิตต่ำกว่าที่ตั้งไว้ระบบจะไม่อนุญาติให้มีการทำธุรกรรมนอกจากมี ผู้อนุมัติในแต่ละครั้ง

ระบบจะอัตโนมัติส่งข้อมูลไปยังระบบลูกหนี้ และระบบบัญชี

ระบบห้องยา (Pharmacy System)

ระบบมีข้อมูลของยาที่สามารถทดแทนกันได้

มีข้อมูลการใช้ยาโดยแบ่งตามอายุของคนไข้ หรือข้อมูลอื่นๆตามที่กำหนด เพื่อเป็น ข้อมูลมาตรฐานที่จะพิมพ์ในฉลากยา

มีการบันทึกข้อมูลของแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา เภสัชกรที่จ่ายยาเพื่อใช้ตรวจสอบในภายหลัง

ระบบสามารถกำหนดสินค้าได้ในลักษณะแบบ Tree ซึ่งแต่ละสินค้าจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกัน และกันและมีคุณสมบัติของการสืบทอด

ระบบจะเตือนในท่านทราบเมื่อปริมาณสต๊อกยาลดลงถึงระดับที่ควรสั่งซื้อ

สามารถใช้ระบบ Barcode สำหรับควบคุมสินค้าในคลังได้

สามารถควบคุมสินค้าในคลังสินค้าได้ละเอียดถึงสถานที่เก็บยาย่อย

สามารถเลือกวิธีการคิดต้นทุนสินค้าในคลังได้หลายแบบได้แก่ Average, FIFO, LIFO, Moving Average ตามสินค้าและอัตโนมัติคำนวณต้นทุนสินค้าและค่าเสื่อมราคาของสินค้า แต่ละรายการ

สามารถโอนข้อมูลยาจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งหรืออีกคลังหนึ่งไปยังอีกคลังหนึ่งได้

ระบบการเงิน (Cashier System)

สามารถดึงข้อมูลมาจากการบันทึกค่าใช้จ่ายมาใช้ได้

ระบบไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขราคาขายที่ต่ำกว่าราคาในตารางการขายนอกจากจะมีผู้อนุมัติ ในการขายแต่ละครั้ง

ระบบอนุญาตให้กำหนดระดับการอนุมัติได้หลายระดับหรือการอนุมัติจากผู้มีอำนาจมากกว่า 1 คนขึ้นไป

สามารถบันทึกการรับชำระได้หลายประเภทตามแต่จะกำหนดเช่นเงินสด บัตรเครดิต เป็นต้น

ระบบจะอัตโนมัติส่งข้อมูลไปยังระบบลูกหนี้ และระบบบัญชี

ระบบแม่บ้าน (Housekeeping System)

สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นของลูกค้า การบันทึกอุปกรณ์ที่ใช้ใน แต่ละห้องเพื่อควบคุมการเบิก

สต๊อกสินค้า รวมถึงการบันทึกสถานะของห้องพักเช่น กำลังทำความสะอาดอยู่

C2C ( Commerce to Community )

เป็นการจัดเตรียมธุรกรรมเพื่อใช้ในการควบคุมนโยบายในการทำธุรกิจ ในลักษณะการประมูล ประกาศรับสมัครงาน หรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้ง ติดตาม และตรวจสอบ รวมถึงในส่วนของ CRM - Customer Relation Management ด้าน Marketing

นอกจากนี้ยังสามารถประเมินผลในการทำธุรกรรมต่างๆ ได้เช่น ผลสรุปของการประมูล จำนวน ของผู้เข้าชม Banner ต่างๆ ในการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์

EIP (Enterprise Intelligence Planning)

คือการวางแผนในการใช้ข้อมูล (Information) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเอาข้อมูลจากลูกค้าทุกรายที่ใช้ JiniMart ในส่วนของ ERP (Enterprise Resource Planning ) และ ECP (Enterprise Commerce Planning) มาวิเคราะห์ แล้วนำเอาผลลัพธ์ที่ได้มาทำ Simulation ให้กับผู้บริหารของแต่ละองค์กร เพื่อที่ผู้บริหารจะนำไปใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเอง โดยข้อมูลของแต่ละองค์การ (หรือที่เรียกว่า Data Private) ก็ยังคงเป็นความลับขององค์กรนั้นๆ อยู่เสมอ

นอกจากข้อมูลจาก JiniMart ในส่วนของ ERP ( Enterprise Resource Planning ) และ ECP ( Enterprise Commerce Planning ) แล้ว EIP ยังสามารถนำข้อมูลทาง ด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค (ซึ่งเป็นข้อมูลทางด้านพฤติกรรม การบริโภคตามลักษณะและคุณภาพของผลิตภัณฑ์) และเศรษฐศาสตร์จุลภาค (ซึ่งเป็นข้อมูลทางด้านธุรกิจ ในเชิงธุรกิจขาขึ้น หรือธุรกิจในเชิงขาลง ตาม ลักษณะของธุรกิจ) มาใช้

Business

AI (Architecture Intelligence)

เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขและประเมินผลโดยใช้ลักษณะของภาษาที่เป็นข้อความ (Description Language) มาเป็นเงื่อนไขในการแก้ไขปัญหา หรืออาจนำข้อมูล (Information) ที่ได้รับจาก Transaction ในการดำเนินธุรกรรมนำมาย้อนกลับเพื่อช่วย ในการแก้ปัญหา หรือที่เรียกว่า Feedback Control Process

Information

เป็นระบบที่นำข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากผู้ใช้จากระบบ ERP – Enterprise Resource Planning และ ECP – Enterprise Commerce Planning มาประเมินผล เพื่อสรุปหาผลลัพธ์ อันเกิดจากการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ของลูกค้า

Simulation

เป็นระบบที่จำลองสถานการณ์ของผลลัพธ์ ที่เกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจาก ERP – Enterprise Resource Planning และ ECP – Enterprise Commerce Planning มาทดลองการทำงานแล้ว นำมาประเมินผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลให้กับผู้บริหารในการปรับปรุงองค์กรต่อไป

Economic

เศรษฐศาสตร์มหภาค

ข้อมูลทางด้านพฤติกรรมการบริโภค ตามลักษณะและคุณภาพของผลิตภัณฑ์

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

ข้อมูลทางด้านธุรกิจ ในเชิงธุรกิจขาขึ้น หรือธุรกิจในเชิงขาลง ตามลักษณะของธุรกิจ โดยดูจากอัตราการเจริญเติบโต หรืออัตราการขายสินค้า